โอบรับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมรับเทศกาลสงกรานต์

12.04.2024

ประเทศไทยกำลังใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาว 5 วัน มีทั้งวันขึ้นปีใหม่ของไทยและวันผู้สูงอายุในวันที่ 13 เมษายน รวมทั้งวันครอบครัวตรงกับวันที่ 14 เมษายน ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว หลายๆ ครอบครัวได้รวมตัวกันมากขึ้น ซึ่งนอกจากช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังลดปัญหาการจราจรติดขัดด้วยการวางแผนการเดินทางที่ยืดหยุ่นได้

อย่างไรก็ตาม การเฉลิมฉลองในช่วงวันหยุดยาวนี้กลับก่อให้เกิดความกังวลในด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการสร้างขยะหรือการใช้ทรัพยากรน้ำ จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราจะสร้างสมดุลระหว่างการรักษาประเพณีอันดีงามของไทย กับการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้อย่างไร

 

เทศกาลสงกรานต์ก่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในหลายๆ ด้านอย่างไร

  • สอดรับกับมรดกทางวัฒนธรรม: หลังจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ (ยูเนสโก) ประกาศให้เทศกาลสงกรานต์ประเพณีปีใหม่ไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2023) ซึ่งมีการเน้นย้ำในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเทศกาลสงกรานต์ โดยผู้คนจำนวนมากเลือกเฉลิมฉลองตามประเพณีดังกล่าวผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ เล่นเกมพื้นบ้าน หรือจัดเลี้ยงสังสรรค์ภายในครอบครัว ที่นอกจากแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของการชะล้างสิ่งไม่ดีออกจากชีวิต ความโชคดี หรือความมีสัมมาคารวะแล้ว ยังส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนคนไทยอีกด้วย
  • ความพยายามในการอนุรักษ์น้ำ: ในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ได้มีการสนับสนุนวิธีการอนุรักษ์น้ำแบบดั้งเดิม อาทิ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่หรือใช้ปืนฉีดน้ำขนาดเล็กในการเล่นสงกรานต์เพื่อประหยัดน้ำแทนการใช้ถังน้ำ นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการเปิดก๊อกน้ำหรือสายยางทิ้งไว้
  • การส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: แนวคิดดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการความรับผิดชอบในการกำจัดขยะ การรีไซเคิล และการตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งความพยายามเหล่านี้ช่วยลดผลกระทบทางนิเวศวิทยาของเทศกาลสงกรานต์ และช่วยส่งเสริมความยั่งยืนทางวัฒนธรรม โดยสามารถสร้างแคมเปญง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หากมีการซื้ออาหารหรือเครื่องดื่ม ผู้บริโภคนำหลอด ช้อนส้อม กล่อง และถุงที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เอง ขณะเดียวกัน ผู้ขายสามารถช่วยส่งเสริมในเรื่องนี้ด้วยการใช้ภาชนะที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือภาชนะที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นจำนวนมาก
  • การจัดการขยะ: จากข้อมูลของ กรุงเทพมหานคร พบว่า เขตที่มีกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เช่น ถนนข้าวสาร สร้างขยะประมาณ 5 ตันต่อวัน ขณะที่ถนนสีลม สร้างขยะมากกว่าเป็น 2 เท่า ขยะที่พบส่วนใหญ่ในเขตกิจกรรมดังกล่าว เช่น ขวดพลาสติก ถ้วยพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น การรวบรวมและคัดแยกขยะที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อการลดมลพิษจากขยะ เช่น โครงการ "ไม่เทรวม" ของกรุงเทพมหานคร ที่ส่งเสริมการคัดแยกขยะในระดับชุมชน โดยเฉพาะเศษอาหารและขยะอินทรีย์ ซึ่งการแยกขยะเศษอาหารออกจากขยะชนิดอื่นๆ จะทำให้การปนเปื้อนของขยะลดลง ทำให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดเวลาและทรัพยากร ในการคัดแยกโดยการใช้คนและทำให้ขยะแห้ง ส่งผลให้การขยะที่คัดแยกได้มีคุณภาพที่เหมาะสมในการนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือนำไปใช้เป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงขยะต่อไป

นอกจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ควรมีการเก็บรวบรวมและส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลอย่างถูกต้องแล้ว ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถนำไปกำจัดอย่างเหมาะสมก่อนเข้าบ่อขยะหรือจุดฝังกลบ การเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิงขยะ (RDF) สามารถเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกสําหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เตาเผาปูนซีเมนต์ เป็นต้น

ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถนำไปกำจัดอย่างเหมาะสมก่อนเข้าบ่อขยะหรือจุดฝังกลบ การเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิงขยะ (RDF) สามารถเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกสําหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เตาเผาปูนซีเมนต์ 

สรุปแล้ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากจะขอให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามนี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นให้เทศกาลสงกรานต์ เป็นเทศกาลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการตอบรับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า ในรุ่นต่อๆ ไป เทศกาลสงกรานต์จะยังคงได้เฉลิมฉลองพร้อมๆ กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอันยั่งยืนสืบไป