วันปลอดขยะสากล: ผลักดันแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

27.03.2024

วันปลอดขยะสากล คืออะไร

วันปลอดขยะสากล จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2023 มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ และส่งเสริมรูปแบบการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ รวมทั้งการจัดการขยะในสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่การหมุนเวียนและการมีส่วนร่วมเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ดังนั้น วันปลอดขยะสากล จึงเน้นย้ำความสำคัญของการสนับสนุนการจัดการขยะทั่วโลก และความจำเป็นในการส่งเสริมรูปแบบการบริโภคและผลิตอย่างยั่งยืน

 

วิกฤตการณ์ขยะในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ปัญหามลพิษจากขยะจึงเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และความเจริญทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษที่รุนแรงยิ่งขึ้น และสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คาดว่าปริมาณขยะอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.8 พันล้านตันภายในปี 2050

 

ด้วยรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ไม่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ทำให้โลกของเราถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในทุกๆ ปี ภาคครัวเรือน ธุรกิจขนาดย่อม และการบริการด้านสาธารณะ สร้างขยะมากถึง 2.1 - 2.3 พันล้านตัน อย่างไรก็ตาม ระบบการบริหารจัดการขยะทั่วโลกกลับไม่เพียงพอต่อการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ ทำให้ประชากรกว่า 2.7 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงการบริการรวบรวมจัดเก็บขยะ ในขณะที่การจัดการขยะในสถานที่ควบคุมอย่างเหมาะสม ทำได้เพียงร้อยละ 61-62 ของจำนวนปริมาณขยะทั้งหมด ปัญหามลพิษจากขยะจึงเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และความเจริญทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษที่รุนแรงยิ่งขึ้น และสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คาดว่าปริมาณขยะอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.8 พันล้านตันภายในปี 2050

ในปี 2022 ประเทศไทยสร้างขยะมากถึง 25.7 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมกว่า 7.1 ล้านตัน ส่วนใหญ่เกิดจากขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมถึงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผ่านการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยมีจำนวนบ่อขยะประมาณ 2,380 แห่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยการวิจัยคาดการณ์ว่าจากหลุมฝังกลบและบ่อขยะที่มีอยู่ทั้งหมด สามารถกักเก็บขยะพลาสติกได้มากถึง 187.9 ล้านตัน อีกทั้งบ่อขยะกว่าร้อยละ 40 ที่อยู่ใกล้พื้นที่วิกฤต เช่น แหล่งน้ำและแนวชายฝั่ง จึงต้องมีความจำเป็นในการปรับปรุงการจัดการขยะอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ การจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นที่จะต้องออกแบบวิธีในการใช้ทรัพยากร และนำกลับมาใช้ใหม่ ป้องกันอย่างเต็มที่โดยให้ขยะรั่วไหลไปบ่อขยะหรือหลุมฝังกลบได้น้อยที่สุดเพื่อลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

 

การปรับปรุงจัดการขยะและหลักการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นทางออกได้หรือไม่

การจัดการกับวิกฤตการณ์ขยะจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองพื้นฐานว่า ขยะ คือทรัพยากรที่มีค่า โดยนำหลักลำดับขั้นของการจัดการขยะมาปรับใช้ โดยจัดลำดับความสำคัญเริ่มจากการป้องกันไม่ให้เกิดขยะ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ หรือวัสดุมาใช้ซ้ำ ตามด้วยการรีไซเคิลหรือการย่อยสลายทำปุ๋ยอินทรีย์ การนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ ก่อนที่จะนำไปกำจัดทิ้งเป็นลำดับสุดท้าย

โดยการกำจัดขยะแบบไม่มีการควบคุม เช่น การกองทิ้งหรือการเผาขยะในที่โล่งแจ้ง ถือเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์อย่างมาก

เพื่อให้การกำจัดขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบปิดที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนใช้ซ้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่สามารถทดแทนใหม่ได้และที่ใช้แล้วหมดไป ระบบการจัดการของเสีย จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ โดยเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะนำวัสดุมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป ซึ่งความสำเร็จของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการจัดตั้งระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การปรับปรุงการจัดเก็บรวบรวม การรีไซเคิลและด้านอื่นๆในการจัดการขยะที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

ดังนั้น การสร้างสังคมปลอดขยะ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งในส่วนผู้บริโภคที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เน้นการ การป้องกันไม่ให้เกิดขยะ นำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และการซ่อมแซมก่อนทิ้ง รวมทั้งการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เช่น การคัดแยกขยะแห้ง ออกจากขยะเปียกเพื่อให้การรีไซเคิลมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น

ปิดวงจรด้วยกระบวนการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์

สำหรับพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ หรือมีมูลค่าต่ำ รวมทั้งขยะที่หมดอายุการใช้งานจนไม่สามารถใช้ซ้ำได้อีก สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนได้ ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถปิดวงจรและบรรลุเป้าหมายสู่การลดขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์

กระบวนการนำขยะมาเป็นพลังงานหรือเรียกกันว่าการเผาร่วม โดยการนำของเสียที่ผ่านการเตรียมของเสียขั้นต้นแล้ว  มาใช้ในเตาเผาเพื่อผลิตปูนซีเมนต์โดยนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้เชื้อเพลิงหลัก เช่น ถ่านหิน ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิโดยรวมลดลง โดยการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ที่อุณหภูมิสูงมากมีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย โดยเถ้าที่เหลือจะถูกเผาไหม้ผสมกับวัตถุดิบรวมเป็นเนื้อเดียวกับปูนเม็ดซึ่งเป็นวัตถุดิบในผลิตเป็นปูนซีเมนต์ ทำให้ไม่มีการทิ้งของเสียไปสู่หลุมฝังกลบ

อินทรี อีโคไซเคิล กับระบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

ที่ อินทรี อีโคไซเคิล เราเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารจัดการขยะหรือของเสีย เช่นเดียวกับการจัดการทรัพยากรที่มีค่าด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ความมุ่งมั่นที่มีต่อความยั่งยืนสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการกำจัดขยะของเรา ที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนจะถูกส่งไปยังปลายทางในการกำจัดขยะตามแนวทางขยะสู่หลุมฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

สอดคล้องถึงความพยายามในการส่งเสริมหลักการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เรามุ่งมั่นที่จะหยุดรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดมลพิษรวมทั้งการเก็บกลับขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ รวมทั้งการรื้อร่อนเชื้อเพลิงขยะ (RDF) มาใช้เป็นพลังงานความร้อนทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์ ผ่านเทคโนโลยีเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (co-processing technology)

อินทรี อีโคไซเคิล มีความภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุน “พันธมิตรด้านความยั่งยืน (Partnership in Sustainability)” ในการมีส่วนช่วยพัฒนาแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและมุ่งสู่เศรษกิจหมุนเวียน