วันรีไซเคิลโลก: ร่วมมือสู่แนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืน

18.03.2024

วันรีไซเคิลโลก: ร่วมมือสู่แนวทางการดำเนินงานที่ยั่งยืน

ทุกปีมีขยะเกิดขึ้นทั่วโลกเป็นหลายพันล้านตัน สร้างความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2566 ประเทศไทยมีการสร้างขยะชุมชนประมาณ 26.95 ล้านตัน โดยมีเพียง 9.31 ล้านตันหรือ 34% เท่านั้นที่ได้ถูกคัดแยกและนำกลับมาใช้ใหม่ การจัดการขยะพลาสติกที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเฉพาะขยะกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจที่สูงมากทั่วโลก

จากการศึกษาวิจัยทางตลาดโดยธนาคารโลก ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีการรีไซเคิลเพียง 17.6% ของปริมาณเม็ดพลาสติกหลัก ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของ Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของไทย พ.ศ. 2561-2573 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 22% ส่งผลให้การกำจัดขยะพลาสติกที่ปริมาณ 2.88 ล้านตันต่อปี มีมูลค่าของวัสดุสูญหายสูงถึง 87%  คิดเป็นมูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปประมาณ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีการรีไซเคิลเพียง 17.6% ของปริมาณเม็ดพลาสติกหลัก ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของ Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของไทย พ.ศ. 2561-2573 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 22%  คิดเป็นมูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปประมาณ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี 

วันรีไซเคิลโลกคืออะไร?

วันรีไซเคิลโลก ตรงกับวันที่ 18 มีนาคมของทุกปี มีเป้าหมายสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการรีไซเคิลและกระตุ้นให้ผู้คนดำเนินการเพื่อลดขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นการรวมตัวของบุคคล องค์กร และรัฐบาลจากทั่วโลกเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและเน้นย้ำถึงประโยชน์ของการรีไซเคิล

หัวใจหลักของวันรีไซเคิลโลก คือหลักการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การรีไซเคิลช่วยลดการใช้งานของวัสดุที่มีมูลค่า, ลดการใช้พลังงาน, และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสกัดและการผลิตสินค้า โดยการแปลงขยะเป็นทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ซ้ำ การรีไซเคิลมีส่วนสำคัญในการช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้นและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

ธีมของวันรีไซเคิลโลกปีนี้คือ #RecyclingHeroes เพื่อเชิดชูผู้คน สถานที่ และกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่าการรีไซเคิลมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางสิ่งแวดล้อมและอนาคตสีเขียวได้อย่างไร  ทุกคนสามารถเป็นฮีโร่ของการรีไซเคิลได้ โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนเองในแต่วันละเพียงเล็กน้อย เช่น การเริ่มคัดแยกขยะ โดยอย่างน้อยแยกขยะเปียก (ขยะอินทรีย์) จากขยะแห้ง ซึ่งจะช่วยลดการปนเปื้อนของขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การมีโครงการที่สร้างความตระหนักรับรู้และช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งเสริมเกี่ยวกับการลดขยะ การแยกขยะที่ต้นทาง และการรีไซเคิลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการรวบรวมและคัดแยกขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติกหลังการใช้งานโดยผู้บริโภค

การรีไซเคิลและประโยชน์ที่ได้รับมีดังนี้:

การรีไซเคิลคือกระบวนการในการรวบรวมและจัดการกับวัสดุต่างๆเพื่อไม่ให้ถูกทิ้งไปเป็นขยะแต่สามารถนำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ โดยมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ: การรีไซเคิลช่วยลดความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้, น้ำ, แร่ธาตุและวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อมาใช้ผลิตสินค้าใหม่
  2. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ: การรีไซเคิลช่วยให้รับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศโดยจำกัดการใช้วัตถุดิบและลดขยะที่ส่งเข้าสู่หลุมฝังกลบ
  3. การประหยัดพลังงาน: การรีไซเคิลช่วยอนุรักษ์พลังงาน การผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลส่วนใหญ่จะใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตสินค้าจากวัสดุใหม่ เช่น การรีไซเคิลขวดพลาสติก 10 ขวดจะช่วยประหยัดพลังงานได้เทียบเท่ากับพลังงานที่ใช้สำหรับการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเป็นเวลากว่า 25 ชั่วโมง
  4. การลดขยะและมลพิษ: การรีไซเคิลช่วยลดการส่งขยะไปยังหลุมฝังกลบและโรงเผาขยะ ซึ่งจะลดผลกระทบที่เกิดจากมลพิษและการปล่อยก๊าซในบรรยากาศ

การรีไซเคิลเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของเศรษฐกิจหมุนเวียน  ช่วยหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการสร้างวงจรหมุนเวียนการใช้งานของพลาสติกที่มีมูลค่าในระบบเศรษฐกิจและป้องกันไม่ให้พลาสติกถูกทิ้งอย่างไร้ประโยชน์และรั่วไหลลงสู่หลุมฝังกลบ

ที่ อินทรี อีโคไซเคิล เรามองว่าขยะเป็นทรัพยากร เป้าหมายของเราคือการคัดแยกและจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนจะถูกส่งไปยังปลายทางในการกำจัดขยะ

เราเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารจัดการขยะหรือของเสีย เช่นเดียวกับการจัดการทรัพยากรที่มีค่าด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ความมุ่งมั่นที่มีต่อความยั่งยืนสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการกำจัดขยะของเรา ที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนจะถูกส่งไปยังปลายทางในการกำจัดขยะตามแนวทางขยะสู่หลุมฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

ติดต่อ อินทรี อีโคไซเคิล เพื่อสอบถามข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะ หรือคลิกที่นี่เพื่อเข้าถึงบริการของเรา