การระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (ESG Materiality Assessment)
กลุ่มบริษัทฯ ได้ดำเนินการทบทวนและประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญอย่างละเอียด ทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภายในและภายนอกองค์กร การประเมินนี้พิจารณาถึงความเสี่ยงของบริษัท ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแนวโน้มความยั่งยืนในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นประเด็นสำคัญ
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด กลุ่มบริษัทฯ ได้นำหลักการจากกรอบการทำงานที่เป็นสากลมาใช้ คือ มาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) 2021 การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดและวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์นี้ช่วยให้มั่นใจว่าลำดับความสำคัญที่ได้มานั้น สอดคล้องกับความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเกณฑ์มาตรฐานของอุตสาหกรรม
• ขั้นตอนการประเมินและจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
กลุ่มบริษัทฯ จัดประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอและทบทวนเป็นรายปี สอดคล้องกับมาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiatives Standards) ซึ่งเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล ตามหลักการ GRI 3: Material Topics (2021) โดยคำนึงถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมด้านการกำกับดูแล เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คนและสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชน ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
ขั้นตอนที่ 1: การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
ขั้นตอนที่ 2: การกลั่นกรองสู่ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยคณะทำงานด้านความยั่งยืนและนำเสนอคณะกรรมการบริษัท
ขั้นตอนที่ 3: การระบุผลกระทบของประเด็นสำคัญ โดยใช้กรอบการทำงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 4: การประเมินลำดับและระดับความสำคัญของผลกระทบนั้นๆ ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การสรุปประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญนั้น จะนำไปเปรียบเทียบกับความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ผ่านหลายช่องทาง เช่น การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้ยังจะต้องนำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน GRI เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นความยั่งยืนของบริษัทได้รับการจัดการอย่างครอบคลุม สมเหตุสมผล และมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด
จากนั้น ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญจะถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา โดยคณะทำงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Steering Commitee: SSC) ซึ่งรับผิดชอบการประเมินความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทำหน้าที่เป็นทีมงานหลักในการสื่อสารกับทุกแผนก เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็นสำคัญ นอกจากนี้ คณะทำงานด้านความยั่งยืน ยังมีหน้าที่ในการนำเสนอและรายงานผลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบปีละสองครั้ง
• ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง
กลุ่มบริษัทฯ ทบทวนความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของการดำเนินธุรกิจโดยอ้างอิงจาก GRI Standards โดยได้ระบุประเด็นความสำคัญที่เป็นสาระสำคัญและต้องให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ดังนี้
ผลการประเมินสาระสำคัญของกลุ่มบริษัทฯ ชี้ให้เห็นบางประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งต่อกลุ่มบริษัทฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบางประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลุ่มบริษัทฯ มองว่าเป็นความเสี่ยงที่สามารถจัดการ ควบคุม หรือป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการซัพพลายเออร์ ความหลากหลายและโอกาสที่เท่าเทียม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงวิธีการประเมินสาระสำคัญให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนในปีต่อไป เราตั้งเป้าหมายที่จะให้มีความแน่ใจว่า ประเด็นที่เกี่ยวข้องที่สุดซึ่งได้รับข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมมากขึ้น และสะท้อนออกมาในกระบวนการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การจัดการประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ จะนำประเด็นเหล่านี้ มารวมเข้ากับกระบวนการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ และสื่อสารในรายงานหรือช่องทางการสื่อสารที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทฯ ต่อการสร้างความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย