ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2512 และในปี 2520 ได้เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมาในปี 2541 บริษัท “โฮลซิม” ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของโลกเข้าร่วมถือหุ้น และในปี 2546 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทดีเด่นทั้งในประเทศไทยและทวีปเอเซีย ในสาขาวัสดุก่อสร้าง โดยการสำรวจประจำปีของนิตยสารยูโรมันนี่ (Annual Euromoney Asian company survey)
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยเท่าไร
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 28
บริษัทในเครือปูนซีเมนต์นครหลวงมีอะไรบ้าง
บริษัทในเครือปูนซีเมนต์นครหลวง มีดังนี้ - บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด (คอนกรีตผสมเสร็จ) - บริษัท คอนวูด จำกัด (ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้) - บริษัท แขมร์ ซีเมนต์ อินดัสตรี คัมปะนี ลิมิเต็ด (การค้า / ปูนซีเมนต์) - บริษัท สยามซิตี้พาวเวอร์ จำกัด - บริษัท อินทรีซุปเปอร์บล๊อก จำกัด - บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จํากัด - บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)
เครือปูนซีเมนต์นครหลวงมีพนักงานทั้งหมดกี่คน
กลุ่มบริษัทในเครือปูนซีเมนต์นครหลวง มีพนักงานและเจ้าหน้าที่โดยประมาณ 3,000 คน นับเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ของจังหวัดสระบุรี โดย 40% ของครอบครัวจากชุมชน
4 แห่ง ที่อาศัยอยู่รอบโรงงาน จะมีสมาชิกในครอบครัวที่ทำงานอยู่ในบริษัทฯ
4 แห่ง ที่อาศัยอยู่รอบโรงงาน จะมีสมาชิกในครอบครัวที่ทำงานอยู่ในบริษัทฯ
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีกำลังการผลิตเท่าไร และมีผลิตภัณฑ์หลักอะไรบ้าง
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ประมาณ 14.5 ล้านตันต่อปี สามารถผลิตปูนซีเมนต์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า ครอบครัวอินทรี ประกอบด้วย อินทรีแดง อินทรีเพชร อินทรีดำ อินทรีฟ้า อินทรีปูนเขียว และอินทรีทอง ในส่วนของปูนอินทรีทอง เป็นปูนซีเมนต์สูตรพิเศษ
สำหรับงานฉาบและงานก่อรายแรกของไทย ที่เปิดตัวสู่ตลาด เมื่อเดือนมีนาคม 2546 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จรูปพร้อมใช้งานภายใต้ชื่อ
อินทรี มอร์ตาร์ แมกซ์ ซึ่งได้เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2548 มีให้เลือกใช้สำหรับงานหลายประเภท คือ งานฉาบละเอียด งานฉาบทั่วไป งานฉาบอิฐมวลเบา งานฉาบผิวคอนกรีต งานก่อทั่วไป งานก่ออิฐมวลเบา งานเทปรับระดับพื้น และปูนกาวประเภทต่างๆ
สำหรับงานฉาบและงานก่อรายแรกของไทย ที่เปิดตัวสู่ตลาด เมื่อเดือนมีนาคม 2546 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จรูปพร้อมใช้งานภายใต้ชื่อ
อินทรี มอร์ตาร์ แมกซ์ ซึ่งได้เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2548 มีให้เลือกใช้สำหรับงานหลายประเภท คือ งานฉาบละเอียด งานฉาบทั่วไป งานฉาบอิฐมวลเบา งานฉาบผิวคอนกรีต งานก่อทั่วไป งานก่ออิฐมวลเบา งานเทปรับระดับพื้น และปูนกาวประเภทต่างๆ
ปูนซีเมนต์มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
การผลิตปูนซีเมนต์สมัยใหม่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2367 เมื่อช่างก่อสร้างชาวอังกฤษชื่อ โจเซฟ แอสพ์ดิน ได้จดสิทธิบัตร “ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์” โดยได้ตั้งชื่อตามลักษณะสีของหินปอร์ตแลนด์ที่พบ กระบวนการผลิตของแอสพ์ดินนับว่าเป็นต้นแบบของการผลิตปูนซีเมนต์จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือเป็นการผสมหินปูนและดินเหนียวที่บดผสมในอัตราส่วนตามที่กำหนด แล้วนำไปเผาในเตาเผาด้วยอุณหภูมิสูง เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีให้กลายเป็นองค์ประกอบชนิดใหม่ที่เรียกว่า “ปูนเม็ด” ปัจจุบันในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนเม็ดจะถูกนำมาผสมรวมกับแร่ยิบซั่มเพื่อปรับระยะเวลาการแข็งตัว โดยบดผสมรวมกันจนเนื้อละเอียดเป็นผง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามต้องการ การผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มีขั้นตอนรายละเอียดที่แยกย่อยและต่อเนื่องกัน โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก ในกระบวนการผลิตดังกล่าวนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ จัดว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนต่อหน่วยพลังงานสูงติดอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ โดยทั่วไป
นโยบายการจ่ายเงินปันผลของปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นอย่างไร
ปูนซีเมนต์นครหลวงไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลที่ตายตัว แต่จะดำเนินการจ่ายคืนผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
ภาระกิจของปูนซีเมนต์นครหลวงในการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีการติดตั้งระบบการตรวจสอบวัดปริมาณสารมลพิษต่างๆ ที่ครบถ้วนและทันสมัยที่สุด ซึ่งช่วยทำให้ปริมาณการปล่อยฝุ่นละอองและสารมลพิษจากปล่องเตาเผาลดลงเรื่อยๆ ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่หน่วยงานราชการกำหนดไว้มาก บริษัทมีเครื่องกรองฝุ่นละอองในระบบจำนวน 488 เครื่อง และระบบการกำจัดฝุ่นละอองด้วยไฟฟ้าสถิตย์จำนวน 35 เครื่อง
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกเขตประกอบการด้วย อาทิเช่น การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศทั่วไปของชุมชน โดยรอบจำนวน 9 แห่ง ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร บริษัท ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9002 ตั้งแต่ ปี 2540 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ตั้งแต่ ปี 2541 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก.18001 ตั้งแต่ปี 2544 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 ตั้งแต่ปี 2545 และได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านคุณภาพ ISO9001 ตั้งแต่ปี 2547
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกเขตประกอบการด้วย อาทิเช่น การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศทั่วไปของชุมชน โดยรอบจำนวน 9 แห่ง ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร บริษัท ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9002 ตั้งแต่ ปี 2540 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ตั้งแต่ ปี 2541 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก.18001 ตั้งแต่ปี 2544 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 ตั้งแต่ปี 2545 และได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานสากลการจัดการด้านคุณภาพ ISO9001 ตั้งแต่ปี 2547
ปูนซีเมนต์นครหลวงมีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
บริษัทได้ทำการปลูกต้นไม้จำนวนเกือบ 200,000 ต้น บนพื้นที่ 1,940 ไร่ (310 เฮคเตอร์) ในปี 2538 และในปี 2543 ที่ผ่านมาในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มเข้าฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่อำเภอพุแค จังหวัดสระบุรี โดยความร่วมมือกับกรมป่าไม้ฯ และช่วง 10 ปีข้างหน้าบริษัทฯ มีโครงการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่ที่ใช้แล้วโดยประมาณ 1,700 ไร่ (272 เฮคเตอร์) รายละเอียดเพิ่มเติมของกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม มีระบุในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นผู้นำในการประหยัดพลังงานอย่างไร
ปูนซีเมนต์นครหลวงเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกที่ได้เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตเป็นระบบ Precalciner ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า (การอบแห้งวัตถุดิบก่อนเข้าเตาเผา) ในปี พ.ศ. 2525 และได้พัฒนาระบบนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนับเป็นรายแรกของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2532 นอกจากนี้ปูนซีเมนต์นครหลวงยังเป็นผู้นำในการใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้ เชื้อเพลิงจากทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่ใช้แล้วหมดไป พร้อมกับช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่นๆ ทางอากาศอีกด้วย

LOAD MORE