ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ มีความชัดเจนและสร้างคุณค่าให้กับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มมากขึ้นโดยบริษัทได้พิจารณาถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญทุกฝ่าย จึงได้มีการกำหนดแผนงานด้าน การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Roadmap)
ปี พ.ศ. 2554 - 2563 โดยมุ่งเน้นและกำหนดเป้าหมายใน 6 ด้านสำคัญ ภายใต้แนวคิดหรือยุทธศาสตร์
“ Green Heart ” หรือ “ โลกน่าอยู่ คู่หัวใจสีเขียว ”
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มมากขึ้นโดยบริษัทได้พิจารณาถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญทุกฝ่าย จึงได้มีการกำหนดแผนงานด้าน การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Roadmap)
ปี พ.ศ. 2554 - 2563 โดยมุ่งเน้นและกำหนดเป้าหมายใน 6 ด้านสำคัญ ภายใต้แนวคิดหรือยุทธศาสตร์
“ Green Heart ” หรือ “ โลกน่าอยู่ คู่หัวใจสีเขียว ”

SD#1
การลดปริมาณ CO2 สู่อากาศ
เป้าหมายต้องลดลง 20% ภายในปี พ.ศ. 2563 จากปีฐาน พ.ศ. 2550 กล่าวคือ ลดปริมาณการปล่อย CO2 จากกระบวนการผลิตให้ลดลง
จาก 750 กิโลกรัมต่อตันซีเมนต์ ให้เหลือ 600 กิโลกรัมต่อตันซีเมนต์
จาก 750 กิโลกรัมต่อตันซีเมนต์ ให้เหลือ 600 กิโลกรัมต่อตันซีเมนต์
SD#2
การส่งเสริมจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ให้ทุกฝ่าย หรือทุกสายงานของบริษัทได้ริเริ่ม ทำกิจกรรมส่งเสริมจิตสำนึกรักษ์
สิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน คู่ค้า สังคม ประเทศชาติ ตัวอย่างเช่น โครงการโรงงานสีเขียว หมู่บ้านสีเขียว ธนาคารเพื่อโลกน่าอยู่
คู่หัวใจสีเขียว โรงเรียนสีเขียว การจัดซื้อสีเขียว เป็นต้น ความสำเร็จสำคัญ คือ การเป็น
ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกที่ได้รับรางวัล Green Industry Level 4 วัฒนธรรม สีเขียว
จากกระทรวงอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2555 และเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรก ที่ได้รับรางวัลสูงสุด Green Industry Level 5 การสร้างเครือข่ายสีเขียว สำหรับทุก โรงงานผลิต ในปี พ.ศ.2557
สิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน คู่ค้า สังคม ประเทศชาติ ตัวอย่างเช่น โครงการโรงงานสีเขียว หมู่บ้านสีเขียว ธนาคารเพื่อโลกน่าอยู่
คู่หัวใจสีเขียว โรงเรียนสีเขียว การจัดซื้อสีเขียว เป็นต้น ความสำเร็จสำคัญ คือ การเป็น
ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกที่ได้รับรางวัล Green Industry Level 4 วัฒนธรรม สีเขียว
จากกระทรวงอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2555 และเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรก ที่ได้รับรางวัลสูงสุด Green Industry Level 5 การสร้างเครือข่ายสีเขียว สำหรับทุก โรงงานผลิต ในปี พ.ศ.2557
SD#3
การมีส่วนร่วม และการพัฒนาชุมชน
ให้ทุกโรงงาน หรือหน่วยผลิตในกลุ่ม SCCC มีการจัดทำแผนประจำปี
ในการสร้างความผูกพันกับชุมชน โดยครอบคลุมทั้ง CSR-In Process และ CSR-After Process และให้มีการพัฒนางานด้าน CSR
ที่เป็นระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมมากขึ้น
ในการสร้างความผูกพันกับชุมชน โดยครอบคลุมทั้ง CSR-In Process และ CSR-After Process และให้มีการพัฒนางานด้าน CSR
ที่เป็นระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมมากขึ้น
SD#4
การลดของเสียจากการผลิตที่ไปฝังกลบให้เป็นศูนย์
(Zero Waste to Landfill)
(Zero Waste to Landfill)
บรรลุเป้าหมาย ZWL แล้วสำหรับ SCCC INSEE Ecocycle Platform คอนวูด และ
อินทรีอะกรีเกต ตั้งแต่สิ้นปี พ.ศ. 2554 ด้วยความร่วมมือทุกฝ่าย ด้วยการใช้หลักการ
3R (Reduce , Reuse , Recycle) ปัจจุบัน ความท้าทายอยู่ที่ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix) ซึ่งเศษวัสดุส่วนใหญ่เป็นเศษคอนกรีตที่เหลือคืนจากลูกค้ากลับมาให้บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการ
อินทรีอะกรีเกต ตั้งแต่สิ้นปี พ.ศ. 2554 ด้วยความร่วมมือทุกฝ่าย ด้วยการใช้หลักการ
3R (Reduce , Reuse , Recycle) ปัจจุบัน ความท้าทายอยู่ที่ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix) ซึ่งเศษวัสดุส่วนใหญ่เป็นเศษคอนกรีตที่เหลือคืนจากลูกค้ากลับมาให้บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการ
SD#5
การพัฒนาสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
เราจะส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากขึ้น โดยให้มีระบบการรับรองฉลากสีเขียว Green Heart Label ตาม มาตรฐาน ISO 14021 และมีการสื่อสาร ส่งเสริมให้ลูกค้า และสังคมทั่วไป ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งหวังให้ยอดขายรวมของ สินค้าและบริการในกลุ่มนี้ คิดเป็น 40% ของยอดขายทั้งหมด
ซึ่งบริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้แล้วในปี พ.ศ. 2562
SD#6
การจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
เราจะลดปริมาณการใช้น้ำลงอย่างน้อย 20% ภายในปี พ.ศ.2560 จากปีฐาน พ.ศ.2555
และพัฒนาให้มีการบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งบริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้แล้วในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา